Google Earth
การนำเข้าข้อมูล
หมายถึง การกำหนดรหัสให้แก่ข้อมูล แล้วบันทึกข้อมูลเหล่านั้นลงในฐานข้อมูล ทั้งนี้ในการกำหนดรหัสข้อมูล (ตัวเลข) ที่ปราศจากที่ผิด (errors) เป็นงานสำคัญและซับซ้อนที่สุด รวมทั้งกระบวนการนำเข้าข้อมูลในแต่ละขั้นตอนจะต้องมีการตรวจสอบข้อมูลเพื่อให้แน่ใจว่าฐานข้อมูลที่ได้นั้นมีจุดที่ผิดพลาดน้อยที่สุด
กระบวนการนำเข้าข้อมูลในระบบ GIS สามารถแบ่งได้ดังนี้
1) การนำเข้าข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial data)
2) การนำเข้าข้อมูลที่ไม่อยู่ในเชิงพื้นที่ (Non-Spatial data) เป็นข้อมูลเชิงบรรยาย (Attribute)
3) การเชื่อมโยงข้อมูลทางพื้นที่ (Spatial data) กับข้อมูลเชิงบรรยาย (Attribute)
1) การนำเข้าข้อมูลทางพื้นที่ (Spatial data)
1) การนำเข้าข้อมูลทางพื้นที่ (Spatial data)
วิธีการนำเข้าข้อมูลทางพื้นที่ใน GIS มิได้มีเพียงวิธีเดียว แต่มีหลายวิธีที่เข้ากันได้เป็นอย่างดี ซึ่งอาจใช้เพียงวิธีเดียวหรือใช้หลายวิธีร่วมกันก็ได้ การเลือกวิธีการนำเข้าข้อมูลนั้นส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ของแต่ละหน่วยงาน ลักษณะการใช้งาน งบประมาณที่มีอยู่ และชนิดของข้อมูลที่จะนำเข้า เช่น
1. การนำเข้าข้อมูลสู่ระบบเวกเตอร์ด้วยมือ
2. การนำเข้าข้อมูลสู่ระบบกริดด้วยมือ
3. การนำเข้าด้วยการดิจิไทซ์
4. การกราดตรวจอัตโนมัติ
1.1 การนำเข้าข้อมูลสู่ระบบเวกเตอร์ด้วยมือ
1.1 การนำเข้าข้อมูลสู่ระบบเวกเตอร์ด้วยมือ
ข้อมูลพื้นฐานของระบบนี้คือ จุด เส้น และพื้นที่ ค่าพิกัดของข้อมูลที่ได้จากกริดอ้างอิงที่มีอยู่ในแผนที่ หรือได้จากการอ้างอิงจากกริดที่นำมาซ้อนบนแผนที่ ข้อมูลเหล่านี้อาจจะพิมพ์เข้าเครื่องเพื่อเก็บในแฟ้มข้อมูลธรรมดา หรือนำเข้าสู่โปรแกรมก็ได้
1.2 การนำเข้าข้อมูลสู่ระบบกริดด้วยมือ
สำหรับระบบกริดนั้น ทั้งจุด เส้น และพื้นที่ ล้วนแสดงด้วยช่องกริด เป็นวิธีการนำข้อมูลที่ง่ายที่สุด โดยมีขั้นตอนดำเนินการ ดังนี้
1.2.1 เลือกขนาดของช่องกริด (แรสเตอร์) แล้ววางแผ่นกริดโปร่งใสตามขนาดที่เลือกซ้อนบนแผนที่
1.2.2 กรอกค่าลักษณะประจำของแผนที่หนึ่งค่าต่อช่องกริดหนึ่งช่อง
1.2.3 พิมพ์เข้าแฟ้มข้อความในคอมพิวเตอร์
1.3 การนำเข้าด้วยการดิจิไทซ์ (Digitizing)
ดิจิไทเซอร์ หรือ แท็ปเลต (Tablet) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลที่มักจะใช้ในงาน CAD/CAM มีลักษณะเป็น แผ่นสี่เหลี่ยมขนาดเท่ากับจอภาพ และมีอุปกรณ์ชี้ตำแหน่ง คล้ายเมาส์วางบนแผ่นสี่เหลี่ยม เรียกว่า ทรานซดิวเซอร์ เมื่อเลื่อนตัวชี้ตำแหน่งไปบนกระดาน จะมีการส่งสัญญาณจาก ตะแกรงใต้แผ่นกระดาน ไปให้คอมพิวเตอร์
1.4 การกราดตรวจอัติโนมัติ
เครื่องกราดตรวจอัติโนมัติ เป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่ใช้สำหรับนำเข้าข้อมูล ซึ่งมีราคาแพง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่กราดตรวจแผนที่ในแบบแรสเตอร์ และกลุ่มที่สามารถกราดเส้นโดยไล่ตามเส้นโดยตรง
1.4.1 เครื่องกราดตรวจแบบแรสเตอร์
1.4.2 เครื่องกราดตรวจเวกเตอร์
1.4.3 เครื่องกราดตรวจแผนที่ชนิดอื่น ๆ
1.4.4 เครื่องอ่านพิกัดแบบวีดีโอ
1.4.5 เครื่องวาดสเตริโอเชิงวิเคราะห์
1.5 ข้อมูลทางพื้นที่ที่อยู่ในรูปแบบแรสเตอร์เรียบร้อยแล้ว
1.5 ข้อมูลทางพื้นที่ที่อยู่ในรูปแบบแรสเตอร์เรียบร้อยแล้ว
เครื่องรับรู้ของดาวเทียมทุกชนิดและอุปกรณ์รับแสงหลายคลื่น (multispectral) ในเครื่องบินซึ่งใช้ในการสำรวจพื้นที่ระดับต่ำ ใช้เครื่องกราดตรวจในการสร้างภาพอิเล็คทรอนิกส์ของภูมิประเทศ ภาพอิเล็กทรอนิกส์สามารถส่งมายังสถานีรับภาคพื้นดินทางคลื่นวิทยุ หรือเก็บในสื่อแม่เหล็กก่อนที่จะแปลงเป็นภาพที่แลเห็นได้ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ข้อมูลที่กราดตรวจจากเครื่องรับรู้บนดาวเทียมและเครื่องบินอาจอยู่ในรูปจุดภาพ แต่รูปแบบอาจไม่ตรงกับรูปแบบที่ใช้ใน GIS จึงจำเป็นต้องผ่านขั้นตอนหลายชนิดก่อนการประมวลผล เพื่อปรับความคมชัดและรูปร่างของจุดภาพและเส้นโครงแผนที่เพื่อให้แน่ใจว่าจะเข้ากันได้ในทางโทโพโลยีกับฐานข้อมูลใน GIS
1.6 แหล่งที่มาอื่น ๆ ของข้อมูลทางพื้นที่เชิงตัวเลข
1.6 แหล่งที่มาอื่น ๆ ของข้อมูลทางพื้นที่เชิงตัวเลข
1. ข้อมูลที่ได้จากการประมาณค่า (interpolated data) โดยอาศัยวิธีการทางคณิตศาสตร์ในการประมาณค่าของสิ่งที่วัดได้เป็นตัวเลข ณ จุดตำแหน่งที่ไม่มีการไปเก็บข้อมูลโดยใช้ค่าสังเกตที่มีอยู่ที่จุดตำแหน่งอื่น ๆ
2. ข้อมูลอื่น ๆ เช่น ข้อมูลสำมะโน รายการหมายเลขโทรศัพท์ เป็นข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางภูมิศาสตร์ภายในระบบ GIS แต่ไม่ได้อยู่ในรูปรหัสทางพื้นที่ แม้ว่าจะมีลักษณะทางพื้นที่ซึ่งแฝงอยู่อย่างเห็นได้ชัด
2) การนำเข้าข้อมูลที่ไม่อยู่ในเชิงพื้นที่ (Non-Spatial data)
หรือข้อมูลเชิงบรรยาย (Attribute Data) ข้อมูลที่ไม่อยู่ในเชิงพื้นที่ หรือข้อมูลเชิงบรรยาย (Attribute Data) ได้แก่ คุณสมบัติของเอนติตี้ทางพื้นที่ซึ่งจำเป็นต้องมีการจัดการใน GIS เช่น การดิจิไทซ์เส้นถนน เส้นถนนแต่ละประเภทอยู่ในรูปข้อมูลทางพื้นที่ของ GIS ซึ่งแสดงด้วยสี สัญลักษณ์ หรือตำแหน่งบนแผนที่ ข้อมูลเกี่ยวกับประเภทของถนน อาจรวมในสัญลักษณ์แผนที่ซึ่งมีอยู่ตามปกติอยู่แล้ว เมื่อผู้ใช้งานต้องการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับความกว้างของถนน หรือความหนาของชั้นซีเมนต์ ชนิดของซีเมนต์ วิธีการสร้าง วันที่สร้าง ตำแหน่งของสี่แยกหรือไฟแดง เป็นต้น เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้มีเอนติตี้ทางพื้นที่ร่วมกัน เราจึงสามารถเก็บแยกและประมวลผลข้อมูลเหล่านี้ต่างหากได้ โดยไม่รวมกับข้อมูลเชิงพื้นที่ หากเป็นข้อมูลประเภทขอบเขตการปกครองอาจจะใส่ข้อมูลเรื่องประชากรชาย หญิงและรายได้เฉลี่ยเป็นต้น
3) การเชื่อมข้อมูลพื้นที่กับข้อมูลที่ไม่อิงพื้นที่
เราสามารถกำหนดเครื่องหมายประจำตัวให้แก่เอนติตี้กราฟิกโดยตรง ในการสร้างรูปหลายเหลี่ยม (polygon) จะต้องสร้างรูปหลายเหลี่ยมขึ้นก่อน จากนั้นจึงจะให้เครื่องหมายประจำตัวแก่รูปหลายเหลี่ยมเหล่านั้นโดยการดิจิไทซ์ข้อมูลเข้า2) การนำเข้าข้อมูลที่ไม่อยู่ในเชิงพื้นที่ (Non-Spatial data)
หรือข้อมูลเชิงบรรยาย (Attribute Data) ข้อมูลที่ไม่อยู่ในเชิงพื้นที่ หรือข้อมูลเชิงบรรยาย (Attribute Data) ได้แก่ คุณสมบัติของเอนติตี้ทางพื้นที่ซึ่งจำเป็นต้องมีการจัดการใน GIS เช่น การดิจิไทซ์เส้นถนน เส้นถนนแต่ละประเภทอยู่ในรูปข้อมูลทางพื้นที่ของ GIS ซึ่งแสดงด้วยสี สัญลักษณ์ หรือตำแหน่งบนแผนที่ ข้อมูลเกี่ยวกับประเภทของถนน อาจรวมในสัญลักษณ์แผนที่ซึ่งมีอยู่ตามปกติอยู่แล้ว เมื่อผู้ใช้งานต้องการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับความกว้างของถนน หรือความหนาของชั้นซีเมนต์ ชนิดของซีเมนต์ วิธีการสร้าง วันที่สร้าง ตำแหน่งของสี่แยกหรือไฟแดง เป็นต้น เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้มีเอนติตี้ทางพื้นที่ร่วมกัน เราจึงสามารถเก็บแยกและประมวลผลข้อมูลเหล่านี้ต่างหากได้ โดยไม่รวมกับข้อมูลเชิงพื้นที่ หากเป็นข้อมูลประเภทขอบเขตการปกครองอาจจะใส่ข้อมูลเรื่องประชากรชาย หญิงและรายได้เฉลี่ยเป็นต้น
3) การเชื่อมข้อมูลพื้นที่กับข้อมูลที่ไม่อิงพื้นที่
เมื่อนำเข้าข้อมูลทางพื้นที่และให้เครื่องหมายประจำเรียบร้อยแล้ว ควรมีการทวนสอบคุณภาพของข้อมูลด้วย โดยเฉพาะรหัสที่จะกำหนดเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลเชิงพื้นที่กับข้อมูลลักษณะในการเชื่อมต่อข้อมูลนั้นสามารถสร้างตารางคำอธิบายเสริมขึ้นมาได้เป็นจำนวนมาก ในส่วนนี้จะต้องศึกษาทฤษฎีของการออกแบบและสร้างฐานข้อมูล (Database Design) เพื่อให้การสร้างฐานข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นการเชื่อมต่อข้อมูลเชิงพื้นที่เข้ากับข้อมูลเชิงคุณลักษณะนั้นจะสามารถทำได้โดยการเชื่อมต่อเพียงชั่วคราว หรือการทำให้เป็นการเชื่อมต่อแบบถาวรได้ โดยกระบวนการทาง GIS ซึ่งจะต้องคำนึงถึงขนาดของข้อมูลที่จะมีขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นไปด้วยฐานข้อมูลใหม่ในตารางใหม่ที่ได้นั้นสามารถนำไปใช้ในการสอบถามค้นหา หรือวิเคราะห์ในขั้นต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น หากฐานข้อมูลนั้นมีความถูกต้องจากการเก็บรวบรวมอย่างมีประสิทธิภาพ
ที่มา:
1. http://www.gis2me.com/gis/chap04b.htm
2. www.gis2me.com/gis/chap04c.htm
3. หนังสือ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อการประเมินค่าทรัพยากรที่ดิน, ศูนย์พัฒนาหนังสือ กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ
google earth, googleearth, download, street view, pro, maps, api, online, live, free, thailand, crack, program, point asia
------------------------------------------
Google Earth - แผนที่ กูเกิ้ล เอิร์ธ
google earth, googleearth, google earth download, google earth street view, google earth pro, google earth maps, google earth api, google earth online, google earth live, google earth free, google earth thailand, วิธีใช้ google earth, ดาวโหลด google earth, google earth crack, program google earth, point asia